หมึกหมดอายุแล้ว ใช้ต่อได้ไหม? ไหนพูดดด
หมึกหมดอายุแล้วใช้ต่อได้มั้ย ???
หลายคนคงมีคำถามนี้ เมื่อพบว่าหมึกในมือ ที่สั่งมาสต๊อกไว้เพื่อสำรองในการพิมพ์งาน “หมดอายุ ยุ ยุ !!!!! ” มันก็คงจะมีบ้าง ที่หมึกหมดอายุเนื่องจากใช้ไม่ทัน หรือสั่งมาเรื่อยๆ ก็ใส่ของใหม่ที่สั่งเข้ามาล่าสุด โดยลืมไปว่ายังมีหมึกสำรองอันเก่าอยู่
แต่วันนี้ uprintershop มีคำตอบให้แล้วว่า ไม่แนะนำ
เรามาไล่เรียงสาเหตุกัน แต่ก่อนอื่นเลยต้องมาดูก่อนว่า เชคตรงไหน??? ว่าหมึกหมดอายุ …หมดแล้ว..เราควรจะลองเสียงใช้ดูไหม หรือควรทิ้งหมึกไปฟรีๆ แล้วถ้าใช้หมึกหมดอายุ จะส่งผลยังไงบ้าง
- หัวพิมพ์จะพังไหม?
- ตันไหม?
- ถ้าหัวพิมพ์ print สีไม่ออก จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
“เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า คุ้มมั้ยที่จะเสี่ยงใช้หมึกหมดอายุ”
ก่อนอื่นเรามาดู วันหมดอายุของหมึก ว่าจะเช็ดได้จากที่ไหนบ้างที่ง่ายที่สุด โดยมี 2 ที่คือ บนกล่องของหมึก และด้านหน้าของตลับหมึก ตามภาพด้านล่าง
คำแนะนำของช่าง Epson จาก uprintershop ก็ตรงกันว่า ชะอึ๋ย… คือไม่แนะนำ ให้ใช้หมึกหมดอายุ เกิน 6 เดือน
ซึ่งผลที่ตามมานั่นก็คือ หัวพิมพ์อาจตัน และเมื่อหัวพิมพ์ตันแล้ว อาจส่งผลถึงส่วนประกอบอื่นในเครื่องด้วย เช่น Selector, ชุด dean, ink tube, Holder เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ช่างก็จะต้องล้างเครื่อง โดยใช้ Power Clean จากหมึกตลับใหม่
หรือหากหมึกหมดสภาพหนักๆ ก็จะเปลี่ยนจากของเหลวกลายเป็นเจล ช่างก็ต้องใช้หลอดฉีดยา (Syringe) อัดน้ำยาล้างหัวพิมพ์ ล้างท่อส่งหมึก เพื่อแก้ปัญหา แต่ถ้าไม่ถึงอาการขนาดหัวพิมพ์ตัน ก็ถือว่าโชคดีไป
ซึ่งวันนี้เรามีเคสจริง แกะจริง ซ่อมจริง เปลี่ยนจริงง มาเป็นกรณีศึกษาให้ดูกัน
หากใช้หมึกที่สภพเปลี่ยนจากของเหลวไปเป็นเจลแล้ว อย่างน้อย อันดับแรก ที่คุณจะต้องเสียแน่ๆ คือค่าบริการเรียกช่างเข้ามาตรวจเช็คเป็นราคา ประมาณ 3,000 บาท (อาจสูงขึ้นตามระยะทาง)
ว่าสามรถแก้ไขเบื้องต้นได้หรือไม่ ถ้าอาการยังไม่หนักมาก สามารถแก้ไขได้เบื้องต้น ก็ถือว่าโชคดีไป
กรณีศึกษาจากเคส วิดิโอด้นบน อย่าพึ่งกลัวไป ต้องบอกว่าเคสนี้อาการหนักจริงๆ ครับ
ซึ่งจากภาาพประกอบลำดับการซ่อมทั้งหมดตั้งแต่ เริ่มถอดเครื่อง ถ่ายหมึกทั้งหมดออก พยายามล้างหมึกที่จับตัวเป็นตะกอน จะเห็นตอนท้ายคลิปเลยว่า น้ำหมึกนั้นได้จับตัวกันเป็นเมือก
- ในหัวพิมพ์
- ในสาย ink tube
- ใน Selector
ซึ่งต่อให้ Cleaning ตามนั้น ตอนซ่อมเบื้องต้นแล้ว อัดน้ำยาล้างหัวพิมพ์ก็แล้ว ก็ยังไม่สามารถละลายหมึกที่จับตัวกันเป็นเมือกได้หมด (อาการหนักมาก)
**โดยรวมค่าใช้จ่ายในเคสนี้ หมดไป 72,000 บาทกว่า ซึ่งรายละเอียดอุปกรร์ที่ต้องเปลี่ยน มีดังนี้ > หัวพิมพ์ printer รุ่น Epson Stylus Pro 9900 ราคา 47,000 บาท
> Selector 3,000 บาท
> Cleanning + wiper (ชุดทำความสะอาด) 6,000 บาท
> ค่า Service ประมาณ 2,000 บาท (ขึ้นไปตามระยะทาง)
- ไม่รวมหมึกที่จะต้องซื้อใหม่อีก (รายละเอียดราคาซ่อม เฉพาะรุ่น เฉพาะเคสนี้ เนื่องจากมีส่วนที่เสียหายหลายส่วน >> ราคาโดยประมาณ)
ดังนั้นการเลือกซื้อหมึก มีความสำคัญพอสมควรค่ะ เพราะบางทีเราอาจเห็นหมึกที่ขายตาม Internet ราคาถูกมาก อาจเป็นหมึกที่ใกล้หมดอายุ หรือหมดอายุไปแล้วก็มี ขอแนะนำให้ซื้อหมึกกับร้านที่เชื่อถือได้ เช่น uprintershop ซึ่งมีหมึกในสต๊อกหมุนเวียนตลอด ทำให้ลูกค้าได้หมึกใหม่ ของแท้ และมีรับประกัน จาก Epson Thailand